วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561

วิเคราะห์ นวนิยายเรื่อง ซอยเดียวกัน



วิเคราะห์วิจารณ์หนังสือรวมเรื่องสั้นชุดซอยเดียวกัน

รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๗

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


                                      ผู้แต่ง วาณิช จรุงกิจอนันต์

ที่มา....
     ซอยเดียวกัน เป็นหนังสือประเภทรวมเรื่องสั้น ของวาณิช จรุงกิจอนันต์ ซึ่งคณะกรรมการตัดสินราวัลวรรณกรรมสร้างรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซี่ยน มีมติเป็นเอกฉันท์ให้หนังสือรวมเรื่องสั้นชุดซอยเดียวกัน  ไดรับรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซี่ยน (ซีไรต์) ประเทศไทย ประจำปี พ.ศ.๒๔๒๗ สำหรับชื่อ "ซอยเดียวกัน" มีที่มาจากส่วนหนึ่งของเรื่องสั้น "บ้านเราอญู่ในซอยนี้... ซอยเดียวกัน " ซึ่งว่าณิช จรุงกิจอนันต์กล่าถึงที่มาในคำนำผู้เขียน่า "เหตุผลที่ตัดมาเพียงสามคำหลัง เพราะชื่อเต็มว่า ้านเาอยู่ในนี้...ซอยเดียวกัน นั้นก็ยาวเกินไป ผมชอบคำว่าซอยมากนักหนา ชื่อซอยเดียวกัน ฟังดูกันเองดี และดูจะน่าฟังกว่าชื่อเรื่องสั้นอื่นๆ ที่รวมอยู่ในเล่มนี้โดยเฉพาะน่าฟังกว่า ครกกับสาก"
 หนังสือรวมเรื่องสั้นชุดซอยเดียวกัน ประกอบด้วยเรื่องสั้นทั้งหมด ๑๔ เรื่อง คือ เพลใบไม้ เมืองหลวง ที่นี่...มหาวิทยาลัย ผาติกรรม กา โนรี ๑๒๕ ผี...และมวลชนผู้ทุกข์ยาก บ้านเราอยู่ในนี้...ซอยเดียวกัน สี่สิบห้าบาท ครกกับสาก ซ้ายล่าสุด เวลานัด ชิมิแกนเทสต์ ภาพเขียนที่หายไป ซึ่งในที่นี้ดิฉันนำเรื่องบ้านเราอยู่ในนี้...ซอยเดียวกัน มาวิเคราะห์ิจารย์เพราะมีความเห็นว่าเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุดในหนังสือรวมเรื่องสั้นชุดนี้ 

เรื่องย่อ...
      เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในซอยแห่งหนึ่ง ที่เหมือนกับซอยอื่น ๆ คือมีจิ๊กโก๋เจี๊ยวจ๊าวประจำซอย มีพวกเกเรสัพเพเหระที่เอาแต่นั่งร้านกาแฟ ไม่แค่นั้นซอยนี้ยังมีทั้งผู้ค้า ผู้เสพครบครัน อีกทั้งยังมีสารพัดผู้ชำนาญวิชาชีพโจร ซอยนี้จะน่ากลัวและเปลี่ยวมากในตอนกลางคืน  เขากับพี่ชายมาเช่าบ้านในซอยนี้อยู่กัน เขาเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปีสุดท้าย เขามานั่งรอรถเมล์ที่ปากซอยเป็นประจำ จนวันหนึ่งเขาได้พบกับเธอ ทั้งที่สองปีก่อนหน้านี้ไม่เคยเจอ เขานั่งมองเธอจนรถเมล์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งรับเธอไป หลังจากนั้นเขาก็คอยติดตามเธอตลอด คอยสังเกตว่าเธอจะออกจากบ้านกี่โมง กลับกี่โมง เธอชอบถือผ้าเช็ดหน้าสีขาวเป็นประจำทุกวัน จนวันหนึ่งเขารวบรวมความกล้าทักเธอว่า “วันนี้ลมแรงนะครับ”วันนั้นทั้งวันเขาไม่เป็นอันเรียน เพราะก่อนที่ผู้หญิงคนนั้นจะขึ้นรถไปเธอหันมายิ้มให้กับเขา วันนั้นเขารีบกลับบ้านมารอเธอที่ป้ายรถเมล์ แต่ก็ไม่พบเธอ เลยคิดไปว่า เธอคงกลับดึก ตอนเช้าระหว่างที่เดินไปรอรถเขาเจอผ้าเช็ดหน้าสีขาว เขาจำได้แม่นยำว่าเป็นของเธอแน่นอน เขาเก็บผ้าเช็ดหน้าเอาไว้ คิดว่าจะได้คืนเธอและหาเรื่องคุย แต่ก็ไม่พบเธออีกจนเย็นวันนั้นเขากลับมาจากมหาวิทยาลัย เห็นรถตำรวจขับเข้าไปในซอยกับรถร่วมกตัญญู เขาคิดว่าคงเป็นวัยรุ่นตีกันตายอีกตามเคย แต่เมื่อเขาเดินผ่านมีเสียงคุยกันว่าเป็นผู้หญิง ทำให้เขาต้องแทรกวงล้อมนั้นเข้าไปเพื่อขอดูศพ และเขาก็ได้รู้จักเธอสักที แต่เป็นการรู้จักจากหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับ   

วิเคราะห์วิจารย์นวนิยายซอยเดียวกัน
แก่นเรื่อง...
    เรื่องสั้นเรื่องนี้มุ่งเสนอแก่นเรื่องหลักคือโอกาสและการไขว่คว้าโอกาส ซึ่งเห็นได้ว่าก่อนที่ผู้หญิงคนนั้นจะเสียชีวิต  เขามีโอกาสมากมายที่จะเข้าไปทักทายทำความรู้จัก แต่เขากลับปล่อยให้โอกาสนั้นลอยผ่านหน้าไป การนำเสนอเรื่องราวเช่นนี้ตรงกับเจตนารมณ์ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอแก่นเรื่อง

ตัวละคร...
     ตัวละครที่สำคัญมี 2 ตัวละคร  คือ   ตัวละครหลักที่ทำให้เรื่องสั้นเรื่องนี้ดำเนินไปได้นั้นก็คือ 

ชายผู้เหล่าเรื่อง  และหญิงสาว นักศึกษา โดยสามารถสามารถวิเคราะห์ลักษณะ นิสัยของ

ตัวละครทั้งสองตัวนี้ได้จาก  พฤติกรรม ดังนี้ ชายผู้เล่าเรื่อง ตัวละครตัวนี้ถูกสร้างขึ้นให้มี

ลักษณะเป็นคนอาจไม่กล้าพูดกล้าคุย จึงก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาไม่กล้าที่จะเข้าไป

ทำความรู้จักกับผู้หญิงคนนั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัย  ของตัวละครว่าไม่มี

ความกล้าหาญ

        หญิงสาวนักศึกษา ตัวละครนี้ถูกสร้างขึ้นโดยไม่มีบทพูดผู้อ่านจะรู้จักตัวละครหญิงสาวผ่านชายผู้

เล่ารื่องเท่านั้น ซึ่งจากบทบรรยายขงชายผู้เล่าเรื่องเท่านั้น ซึ่งจากบทบรรยายก็ทำให้มองเห็นว่า ตัว

ละครหญิงสาวนักศึษาเป็นคนที่มีบุคลิกภาพ เรียบร้อยทั้งการแต่งกายและกริยา 


บทสนทนา...

   " เธอมาแล้ว เดินมาแล้ว กำลังจะลงสะพานไม้มาแล้ว มือขวาถือหนังสือแนบอกพร้อมด้วยกระเป๋าสี

ดำใบเล็กๆ ผ้าเช็ดหน้าสีขาวอยู่ในมือซ้าย เธอลงสะพานไม้มาแล้ว...เดินตรงมาที่ผมแล้ว...เธอเดินผ่าน

ไปแล้ว ปากผมไม่ได้ขยับเลย" (บ้านเราอยู่ในซอยเดียวกัน ๒๐๐๘-๒๐๑)


ฉาก...

    ฉากในนวนิยายเรื่องซอยเดียวกัน

ซอย" เป็นฉากที่เห็นเด่นชัดที่สุดของเรื่องสั้นเรื่องนี้ ซึ่งผู้เขียนได้บรรยายลักษณะของซอยใน

กรุงเทพธนบุรีกว่าห้าหมื่นหกพันซอยได้อย่างชัดเจน และตรงกับความเป็นจริง คือ เป็นซอยเปลียว มี

พวกจิ๊กโก๋ ประจำซอย ทำให้เมื่อเราอ่านเรื่องสั้นเรื่องนี้ แล้วจะมีความเชื่อเป็นเรื่องจริง ไม่ได้เป็นฉากที่

ไกลตัว ดังปรากฏในตัวอย่างต่อไปนี้ 

บ้านผมอยู่ในซอยเหมือนอีกห้าหมื่นหกพันซอย ในกรุงเทพธนบุรีที่จอแจและคับแคบ( หน้า ๑๙๑)

และสภาพของซอยนี้จะเปลี่ยวในตอนกลางคืน และจะไม่ค่อยมีผู้หญิงมากล้าเดิน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 

"ซอยอันจ้อกแจ้กในตอนกลางวันนี้ จะเปลี่ยนเป็นเปลี่ยวอย่างน่ากลัวในตอนกลางคืน เพราะมีเพียงช่วง

แรกเท่านั้น ที่เป็นตกแถวที่มีร้านค้า เมื่อพ้นสะพานไม้ข้ามคูไปแล้ว ก็จะเป็นบ้านคนสลับกับพงหญ้ารก

และมีที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่น่าจะเรียกได้ว่า เป็นบ้านอยู่ระเกะระกะทั่วไปซอยนี้เป็นแหล่งสลัมใหญ่อีกแห่ง

หนึ่งของกรุงเทพฯ" (หน้า ๑๙๓)


ลีลาท่าทีของผู้แต่งและการใช้ภาษา

สะท้อนการแต่งกาย

   เธอแต่งตัวเรียบร้อย เสื่อนักศึกษาขาวสะอาดรีดเรียบร้อย กระโปรงแคบๆสีน้ำเงินยาวถึงหัวเข่ามือขวา

ประคองหนังสือแนบลำตัว มือซ้ายถือผ้าเช็ดหน้าสีขาว (หน้า ๑๗๕)

สะท้อนกริยาท่าทาง

   รวมทั้งจิ๊กโก๋ประจำตรอกที่ตะโกนอย่างไม่เกรงใจว่า คนสวยมาแล้ว เมื่อเห็นเธอเดินผ่าน บางทีก็มีคำ

พูดที่ผมไม่ต้องการจะได้ยินตามมา แต่เธอก็นิ่งและสงบไม่เคยเหลียวมองและไม่เคยเปลี่ยนสีหน้า 

(หน้า ๑๘๐)


คุณค่าที่ได้รับจากนวนิยายเรื่องนี้...

   คุณค่าด้านวรรณศิลป์  เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ใช้คำได้ไพเราะ สละสลวย และประณีต

สวยงาม อีกทั้งยังมีการเล่นเสียงเล่นคำ ที่ผู้เขียนนั้นได้เลือกสรรมาเป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้อ่านนั้น

เข้าถึงอารมณ์และสิ่งที่ต้องสื่อในผลงาน เพราะเรื่องสั้นภายในแบ่งออกเป็น ๑๔ เรื่องย่อย การ

เลือกใช้คำนั้นจึงแตกต่างกันไป เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการสื่อ เช่น ในเรื่องสั้นเรื่อง 

ผาติกรรม ที่ผู้เขียนนั้นใช้สัทพจน์ คือ การเลียนเสียงธรรมชาติ สร้างให้เกิดภาพ 

ดังตัวอย่าง 

   
“เสียงกึกก้องโหยหวนก็ดังขึ้น ดังราวกับว่าศาลาใหญ่แห่งนี้จะยุบพังลงได้ในทันที เสาใหญ่สี่ต้นบิดเอี๊ยด

โอนเอนอย่างน่ากลัวหน้าบันและจั่วของศาลาทั้งด้านหน้าและด้านหลังสั่นเสียงเปรี๊ยะบิดราวกับมีช้าง

สารหลายเชือก   (ผาติกรรม : ๙๕)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วาณิช จรุงกิจอนันต์                              

จากตัวอย่างข้างต้นไม่ได้แสดงให้เห็นว่า มีการใช้สัทพจน์

เพียงอย่าเดียว แต่ยังแสดงให้เห็นว่ามีการ

สร้างภาพพจน์แบบอุปมานั้นมาใช้ร่มด้วย 



คุณค่าทางสังคม  สะท้อนภาพสังคมที่แตกต่างกันอย่าง

หลากหลาย ไว้ในเรื่องสั้นเรื่องต่าง ๆ ทั้งด้าน

การเมืองการปกครอง  วิถีชีวิต  การคมนาคมและความเชื่อ 





วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

สรุปบทความเรื่อง ชีวิตกับเวลา


                      การอ่านบทความเรื่อง ชีวิตกับเวลา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปชีวิตกับเวลา




ที่มา:www.Romyenchurch.org


โดย:ศจ.ดร.วีรชัย โกแวร์


    ชีวิตของเราผูกติดกับเวลา เวลาไม่มีวันสิ้นสุด แต่มนุษย์ในมิติของกายภาพมีความจำกัด เริ่มแรก มนุษย์เรียนรู้การนับเวลาเริ่มต้นจากดวงอาทิตย์ตกจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นหนึ่งวันของโลกนั้นหมายถึงการแยกให้เป็นเวลาที่เรียกว่า “กลางวัน” และ “กลางคืน” ต่อมาได้มีการแบ่งเวลาเป็นปี เดือน สัปดาห์ วัน ชั่วโมง นาที วินาทีและเสี้ยววินาที
เวลาเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราคือ ชีวิตของเราผูกพันกับการโคจรของโลก การเกิดและการดับของชีวิตถูกนับเป็นวันว่าอายุยืนหรืออายุสั้น อีกทั้งการทำงานของเราก็ถูกกำหนดโดยวันและเวลา
ความจริงที่มนุษย์พึงตระหนักและต้องเตือนตนเองเสมอว่าวันดับของชีวิตทางกายภาพ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาด้วยเหตุต่างๆ กัน ฉะนั้นทุกคนจะต้องทำให้ชีวิตของตนในโลกนี้ไม่ว่าจะยาวหรือสั้นจะต้องทำให้ผลของชีวิตออกมาดีที่สุด ความจริงอีกประการหนึ่งคือ ชีวิตในโลกนี้เราอยู่ไม่นานและเวลาที่น้อยนิดเมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตอมตะนิรันดร์นั้นผ่านไปเร็วมากๆ
  เราจะต้องทำอย่างไรกับชีวิตเกี่ยวกับสัจธรรมแห่งชีวิตที่ได้กล่าวมาแล้ว


ในความคิดของดิฉันเวลาเป็นตัวกระตุ้นให้เราใช้ชีวิตบนโลกนี้ และเราก็ยังตระหนักอยู่เสมอว่า ความตายกำลังรอเราอยู่ เวลาจึงเป็นเสมือนเครื่องเตือนใจให้เราตระหนักอยู่เสมอว่า หลังจากชีวิตทางกายภาพแตกดับ ก็ยังคงมีเวลาเบื้องหลังความตายรออยู่ตามหลักศาสนา ที่แต่ละศาสนาได้สอนไว้ว่า ชีวิตหลังความตายมีจิง และสอนเหมือนกันว่าแต่ละคนจะต้องรับผลแห่งชีวิตดีหรือชั่วหลังความตาย ส่วนรายละเดียดแต่ละศาสนาอาจสอนต่างกัน ผู้ที่มีความเชื่อเช่นนี้จะระมัดระวังการใช้ชีวิตบนโลกด้วยการสะสมคุณงามความดีไว้ให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการกระทำผิดศีลธรรมอันดีหรือที่เรียกว่า ”ทำบาป” และดิฉันยังคิดอีกว่า เวลาสอนให้คนใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด เพราะเรารู้ดีว่าชีวิตของมนุษย์นั้นสั้นนัก ฉะนั้นแต่ละคนจะต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจนและสร้างสรรค์ เราจะต้องบริหารจัดการชีวิตในการใช้เงิน ใช้ความคิด ใช้แรงงาน แต่ละช่วงเวลาให้คุ้มค่าที่สุด สามารถนำความสุขสดชื่นมาสู่ชีวิตไม่ว่าด้านการงาน ครอบครัว ตัวเอง และศาสนกิจที่มีความเกี่ยวข้องอยู่ อย่าพลัดวันประกันพรุ่ง อย่าผลาญชีวิต อย่าปล่อยชีวิตให้ไหลไปตามกระแสแห่งความอยาก ใช้ชีวิตที่ไม่รู้ว่าจะแตกดับเมื่อใดของเราให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พยายามทำวันนี้ให้ดีที่สุดเพื่อต่อยอดให้กับวันพรุ่งนี้ของชีวิต




"ชีวิตของเราไม่แน่ ไม่นอน การที่เราจะกระทำอะไรก็ตามที่เป็นความดี เราควรที่จะรีบทำก่อนที่มันจะสายเกินไป"






นางสาวไฮฟาต มิตยา รหัสนิสิต601031443
คณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกภาษาไทย

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

นางสาวไฮฟาต มิตยา
รหัสนิสิต601031443
คณะศึกษาศาสตร์วิชาเอกภาษาไทย